ประวัติ
มีหลักฐานพบว่า ประมาณศตวรรษที่ 13 ประเทศฝรั่งเศสมีการเล่นเกมส์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกีฬาเทนนิสเรียกว่า Le Jeu Du Paume (เจอเดอปูม) หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า The Game of the Palm (เกมส์ของฝ่ามือ) เป็นกีฬาของชนชั้นสูงที่เล่นในร่มโดยใช้ฝ่ามือตีลูกบอลทรงกลม หลังจากนั้นจึงมีการใช้เเร็คเก็ตเเทนฝ่ามือ
คำว่า La Journee (ลาจูเน่) ภาษาฝรั่งเศสโบราณแปลว่าหนึ่งวัน ในการแข่งขันกีฬาแมทช์สมัยนั้น จะยึดเอาจำนวนนาทีใน 1 ชั่วโมงและจำนวนชั่วโมงใน 1 วันเป็นเกณฑ์ ดังนั้น กีฬาแมทช์หนึ่ง จะมี 24 เกม ในแต่ละเกมจะมี 4 แต้มและแต้มละ 15 คะแนน (ในหนึ่งชั่วโมง สามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วงๆ ละ 15 นาที) เมื่อนักกีฬาเล่นได้แต้ม 45 คะแนนเท่ากัน จะต้องเล่นให้ได้ 2 แต้มติดกันจึงเป็นผู้ชนะ ดังนั้นถ้าเล่นได้แต้ม 45 เท่ากัน ต้องเล่นอีก 2 แต้มคือ 15 และ 15 ซึ่งเมื่อรวมคะแนนทั้งหมดเข้าด้วยกัน คะแนนจะเกิน 60 (45 + 15 + 15 = 75) จึงตกลงเปลี่ยนคะแนนเมื่อแต้มเท่าจาก 45 : 45 คะแนน มาเป็น 40 : 40 คะแนน แล้วแต้มต่อไปจะเป็นแต้มละ 10 คะแนน (40 + 10 + 10) และถ้าเกิดได้คะแนน 50 : 50 เท่ากัน ต้องเล่นกันใหม่จนกว่าจะได้ 2 แต้มติดกัน จึงเป็นผู้ชนะ เช่นเดียวกับการเล่นเกม เมื่อได้ 23 เกมเท่ากัน จะแพ้ชนะกัน ต้องได้ 2 เกมติดกัน ซึ่งรวมแล้วจะเกิน 24 เกม จึงลดเป็นเมื่อได้ 22 เกมเท่ากันแล้วต้องได้อีก 2 เกมติดต่อกันจึงเป็นฝ่ายชนะ แต่การเล่นนานถึง 24 เกม ใช้เวลานานมาก ดังนั้นจึงค่อยๆ ลดลงจาก 24 เกม เหลือ 12 เกม จนในที่สุดเหลือ 6 เกมดังเช่นในปัจจุบัน
ในตอนต้นศตวรรษที่ 17 มีการสร้างคอร์ทนับร้อยในกรุงปารีสและกีฬานี้เป็นที่นิยมมาก จนกระทั่งนำไปสู่การพนัน ทำให้กีฬานี้ถูกห้ามเล่นในที่สาธารณะแต่อนุญาติให้เล่นได้ในกลุ่มสังคมชั้น สูง และในตอนปลายศตวรรษที่ 18 คำว่า เตอเน่ (Tenez) ก็ปรากฎขึ้น บางทีอาจเป็นเพราะชาวอังกฤษพยายามออกเสียงตามภาษาฝรั่งเศสโบราณ ซึ่งคำว่า “เตอเน่” แปลว่าเล่นหรือจับจึงเพี้ยนไป ในที่สุดกลายเป็น เทนนิส (Tennis)
ตอน ปลายศตวรรษที่ 16 Le Jeu Du Paume ถูกนำเข้าไปในประเทศอังกฤษ จึงนับได้ว่าประเทศอังกฤษมีส่วนในการพัฒนากีฬานี้ ในปี ค.ศ. 1327 – 1377 กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 ได้สร้างคอร์ทขึ้นภายในพระราชวังวินเซอร์ และในปี ค.ศ. 1414 เจ้าชาย Dauphin แห่งฝรั่งเศส ได้ถวายของขวัญแก่พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 เป็นลูกบอลสำหรับใช้เล่นเกมส์นี้ หลักฐานการถวายของขวัญครั้งนี้ ปรากฏอยู่ในบทละครของเชคสเปียร์เรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 (Henry V) ในภาค (Act) ที่ 1, ฉาก (Scene) ที่ 2, บรรทัดที่ 261-262 ดังนี้
“When we have match’d our rackets to these balls,
We will in France (by God’s grace) play a set . . . .”
อุปกรณ์การ เล่นต่างๆ ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย เสา ตาข่าย ลูกบอล ไม้แร็กเกตและกติกาการเล่น สนามเทนนิสของเขามีลักษณะตรงกลางแคบแต่ทางด้านท้ายสนามผายออก คล้ายนาฬิกาทราย สำหรับตาข่ายที่ใช้กั้นตรงกลางสูง 7 ฟุตเหมือนตาข่ายแบดมินตัน
ในระยะต่อมากีฬาเทนนิสเป็นที่นิยมและเล่น กันทั่วทั้งประเทศอังกฤษ แต่ละแห่งก็ตั้งกฎเกณฑ์และกติกาของตนเองขึ้น ตาข่ายที่กั้นกลางสนามก็เลื่อนจากที่สูงมาตั้งบนพื้น ในปี ค.ศ. 1875 สโมสรแมรี่ลีบอน คริกเกต (The Marylebone Cricket Club) ซึ่งเป็นสโมสรที่สำคัญในการดูแลมาตรฐานของเกมส์กีฬาต่างๆ และได้รับการสนับสนุนจากสโมสรออลอิงแลนด์โครเกท์ (The All England Croquet Club, ก่อตั้งเมื่อปี 1868 อยู่ชานเมืองของกรุงลอนดอนที่มีชื่อว่า Wimbledon) ได้พยายามเข้ามามีบทบาทในการควบคุมมาตรฐานของกีฬานี้ และได้ตั้งกติกาลอนเทนนิสขึ้นมาใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากของพันตรีวิงฟิลด์ ทำให้คนอังกฤษหันมาเล่นเทนนิสกันมากขึ้น มีการสร้างสนามเทนนิสขึ้นทั่ว ๆ ไป และในปี ค.ศ. 1877 ได้มีการจัดการแข่งขันเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก
ปัจจุบัน สิ่งที่เป็นของพันตรีวิงฟิลด์ที่เหลืออยู่ให้เห็นได้แก่ อุปกรณ์การเล่นที่เป็นตาข่าย กับชื่อคำว่า "เทนนิส" เท่านั้น นอกจากนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งสิ้นรวมทั้งคอร์ท กติกาการเล่นและวิธีนับคะแนน พันตรีวิงฟิลด์จึงเปรียบเสมือนบิดาแห่งวงการเทนนิสโลก รูปปั้นของพันตรีวิงฟิลด์ ตั้งอยู่ที่ลอนเทนนิสสมาคมแห่งอังกฤษ
จาก หลักฐานที่บันทึกส่วนใหญ่ พบว่า แมรี่ เอาเทอร์บริดจ์ (Mary Outerbridge) ได้ไปพบกีฬาเทนนิสที่เบอร์มิวดา (Bermuda) และในปี 1874 ได้นำอุปกรณ์และวิธีการเล่นกีฬานี้มาเผยแพร่ในประเทศอเมริกา โดยเล่นกันที่ The Staten Islang Cricket and Baseball Club รัฐนิวยอร์ค แต่นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ Tom Todd ได้บันทึกไว้ว่าเป็น Dr. James Dwight เป็นผู้นำกีฬาเทนนิสเข้ามายังประเทศอเมริกาในตอนต้นของปีเดียวกัน ที่จริงแล้วก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นคนแรก อย่างไรก็ตาม Mary Outerbridge เป็นคนที่พยายามผลักดันกีฬาเทนนิสในรัฐนิวยอร์ค ส่วน Dr. James Dwight แพทย์หนุ่มจากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด (Harvard Medical School) เป็นผู้ที่บทบาทสำคัญต่อวงการเทนนิสของอเมริกาและได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งกีฬาเทนนิสอเมริกา (Father of Tennis U.S.) Dwight ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมา แต่กลับทุ่มเทเวลาให้กับเทนนิส โดยเป็นผู้ฝึกสอนแชมป์ชายเดี่ยวคนแรกของอเมริกา Dick Sears และเล่นคู่กับ Sears จนได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภทชายคู่ในรายการ U.S. Open
กีฬาเทนนิส ได้ถูกบรรจุอยู่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคตั้งแต่ครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ (ปี 1896) เรื่อยมาจนถึงการแข่งขันโอลิมปิคที่กรุงปารีสในปี 1924 หลังจากนั้นก็ได้ถูกยกเลิกไปและได้ถูกบรรจุอยู่ในกีฬาโอลิมปิคอีกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี
ปี 1900 เกมส์การเล่นเทนนิสได้พัฒนาขึ้นมาก Renshaws เป็นผู้เริ่มการขึ้นเล่นหน้าเน็ต, Lawford ใช้ลูกท็อปสปิน (Topspin), Dwight Davis ผู้คิดวิธีการเสิร์ฟแบบอเมริกันทวิส (American Twist) ได้ให้ถ้วยรางวัลสำหรับการแข่งขันประเภททีมระหว่างอังกฤษกับอเมริกา ซึ่งต่อมาได้เปิดโอกาสให้ประเทศอื่นเข้าร่วมการแข่งขันและเป็นรายการแข่งขัน ประเภททีมชายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรียกว่า การแข่งขันเดวิสคัพ (Davis Cup)
ปี 1913 ได้มีการจัดตั้งสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ในสมัยนั้นเรียกว่า International Lawn Tennis Federation – ILTF, ปัจจุบันคือ International Tennis Federation – ITF) เพื่อวางกฎระเบียบ กติกาต่างๆ ให้เป็นสากลและประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
ช่วงปี 1919-1945 ถือเป็นช่วงทองของกีฬาต่างๆ มีนักกีฬาระดับซุปเปอร์สตาร์กำเนิดขึ้นมากมาย เช่น เบสบอล – Babe Ruth; มวย – Jack Dempsey; กอล์ฟ – Boby Jones; ม้าแข่ง – Man o’ War; เทนนิส – Bill Tilden, Suzanne Lenglen, Helen Wills Moody
ปี 1946-1967 สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังมีการแบ่งแยกระหว่างนักเทนนิสสมัครเล่น (Amateurs) และนักเทนนิสอาชีพ (Pros) รายการแข่งขันที่สำคัญต่างๆ ยังไม่อนุญาติให้นักเทนนิสอาชีพเข้าแข่ง เช่น Australian, French, Wimbledon, U.S Open รวมทั้ง Davis Cup นักเทนนิสที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ Jack Kramer, Pancho Segura, Pancho Gonzalez, Althea Gibson, Maureen Connolly, Rod Lever, Ken Rosewall & Lew Hoad, Neale Fraser, John Newcombe, Billie Jean King
ปี 1968-1996 เป็นยุคที่เรียกว่า Open Era รายการแข่งขันที่สำคัญหลายรายการมีเงินรางวัล และเปิดให้ทั้งนักเทนนิสสมัครเล่นและนักเทนนิสอาชีพเข้าแข่งร่วมกัน กีฬาเทนนิสกลายเป็นธุรกิจกีฬาที่ทำเงินมหาศาล มีการก่อตั้ง WCT (World Championship Tennis) และ ATP (Association of Tennis Pros) ในปี 1967 และ 1972 ตามลำดับ
ประวัติเทนนิสในประเทศไทย
ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำกีฬาเทนนิสเข้ามาสู่ประเทศไทยและในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มเล่นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว โดยชาวอังกฤษและอเมริกันที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่ในขณะนั้นคนไทยยังไม่สนใจการเล่นเทนนิสมากนัก คงเล่นกันในหมู่คนต่างชาติ ต่อมาจึงมีเจ้านายคนไทยชั้นสูง และข้าราชการชั้นสูงเริ่มเล่นลอนเทนนิสกัน ครั้งนั้นนักเทนนิสไทยบางท่านนุ่งผ้าม่วง เล่นเทนนิส บางคนระหว่างการเล่นก็กินหมาก ต่อมาจึงนุ่งกางเกงขายาว และต้องสีขาวตามแบบฉบับของชาวฝรั่ง ถือว่าเล่นเทนนิสต้องนุ่งกางเกงขายาวสีขาวเป็นการสุภาพกว่าขาสั้น
จนกระทั่งในราวปี พ.ศ. 2460 ประชาชนให้ความสนใจกันมากขึ้น จึงมีการตั้งสโมสรเทนนิสขึ้นอย่างเป็นทางการแห่งแรกที่พระราชอุทยานสราญรมย์ มีสมาชิกครั้งแรกเพียง 10 คน ต่อมาเปลี่ยนสถานที่ไปเล่นที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แต่ก็ล้มเลิกไปในที่สุด ในระหว่างนั้นก็มีอีกสโมสรหนึ่งที่มีการเล่นลอนเทนนิสคือ บางกอกยูไนเต็ดคลับ แต่เป็นสนามซีเมนต์เพียงสนามเดียว และมีเอกชนตั้งสโมสรลอนเทนนิสขึ้นหลายแห่ง เช่น บริษัทบอร์เนียว บริษัท บอมเบย์เบอร์มา ที่บ้านมิสเตอร์คอลลิน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ และยังมีการเล่นลอนเทนนิสที่บ้านมิสเตอร์ลอฟตัส ซึ่งอยู่ใกล้โรงเรียนนายเรือ ธนบุรี บ้านหมอแม็คฟาแลนด์ ที่โรงพยาบาลศิริราช และบ้านมิสเตอร์บัสโฟร์ หลังกองทัพเรือ สำหรับในหมู่คนไทยเช่นที่กระทรวงเกษตร สโมสรโรงเรียนนายเรือ
ในปี พ.ศ. 2469 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงจัดตั้งลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากสโมสรเทนนิส 12 สโมสรคือ ราชกรีฑาสโมสร สโมสรรถไฟ สโมสรกีฬาอังกฤษ สโมสรกีฬาสามัคยาจารย์ สโมสรนครสวรรค์ สโมสรสีลม สโมสรลำปาง สโมสรนวรัฐ สโมสรเชียงใหม่ยิมคานา สโมสรสงขลา สโมสรกลาโหมและสโมสรภูเก็ต ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุมกันเป็นครั้งแรกที่วังกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในที่ประชุมก็ได้ลงมติเอกฉันท์ให้ตั้ง “ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย” และได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกของลอนเทนนิสสมาคมเป็นคนแรก พร้อมทั้งได้ออกกฎข้อบังคับของสมาคมฯขึ้นใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป ซึ่งได้ใช้เป็นบรรทัดฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้
คณะกรรมการชุดแรกของลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยคือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงเป็นนายกสมาคมฯ นายอาร์ดี. เครก เป็นเลขานุการกิติมศักดิ์ พระยาสุพรรณสมบัติเป็นเหรัญญิกกิติมศักดิ์ ส่วนสโมสรที่อยู่ในเครือที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการคือ
1. ราชกรีฑาสโมสร
2. สโมสรกีฬาสามัคยาจารย์
3. สโมสรกีฬาอังกฤษ
4. สโมสรสีลม
5. สโมสรกลาโหม
พระ วรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงมีส่วนสำคัญในการสร้างลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย และได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2482 เป็นเวลาถึง 12 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 พลเอกหลวงพรหมโยธี ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 พ.ต.ท. ขุนศรีวรากร ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม และในปี พ.ศ. 2490 หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ ทรงเป็นนายกสมาคม
ถือว่าวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2470 เป็นวันสถาปนาลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ และในปลายปี พ.ศ. 2470 ทางสมาคมฯได้จัดการแข่งขันลอนเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทยขึ้นเป็น ครั้งแรกที่สโมสรสีลม และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงรับเอาลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดกีฬาเทนนิสมากและทรงเทนนิสอยู่เสมอในสนามเทนนิสวัง สุโขทัย
ในปี พ.ศ. 2494 คณะกรรมการสมาคมได้คิดตราเครื่องหมายของสมาคมขึ้นเป็นพระมหามงกุฏ มีเครื่องหมาย 7 อยู่ข้างใต้ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และในปี พ.ศ. 2495 ทางสมาคมฯได้แปลกติกาลอนเทนนิสของสมาคมลอนเทนนิสระหว่างชาติขึ้น เพื่อเป็นหลักในการแข่งขันและไว้เผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจกีฬาประเภทนี้ทราบโดย ทั่วกัน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ทางลอนเทนนิสสมาคมฯ ได้จัดการแข่งขันให้กว้างขวางขึ้น มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศแห่งภาคขึ้นทุกภาคและคัดนักกีฬาที่ชนะเลิศเอา มาแข่งขันเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งแบ่งการแข่งขันออกเป็นหลายประเภท เช่น ประเภทชายเดี่ยว ประเภทชายคู่ ประเภทหญิงเดี่ยว ประเภทหญิงคู่ ประเภทคู่ผสม ประเภทชายเดี่ยวสูงอายุ (อายุ 50 ปีขึ้นไป) ประเภทชายคู่สูงอายุ (อายุรวมกัน 100 ปีขึ้นไป) เป็นต้น
ใน ปี 2509 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดการแข่งขันเทนนิสที่สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน ด้านหลังสนามศุภชลาศัย และหลังจากเสร็จการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์แล้ว กรมพลศึกษาได้อนุญาตให้ลอนเทนนิสสมาคมฯ เข้ามาใช้ห้องทำงานและสนาม 10 สนาม และต่อมาลอนเทนนิสสมาคมฯได้เปิดเทนนิสให้กับประชาชนทั่วไป
ปี 2520 เมื่อองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน) ได้จัดสร้างสนามเทนนิส จำนวน 6 คอร์ต ขึ้นในบริเวณองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก ได้มอบให้ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นผู้ครอบครอง และใช้สนามเทนนิสให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสมาคม และได้สร้างอาคารที่ทำการให้แก่ สมาคม ที่สนามเทนนิสแห่งนี้ด้วย
กีฬา เทนนิสในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาก ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้นนักเทนนิสประเภทคู่ผสมของไทย คือ จารึก เฮงรัศมี นักเทนนิสชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุทธาสินี ศิริกายะ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ ปัจจุบันมีนักเทนนิสไทยอยู่ในระดับโลกหลายคน และหวังว่าทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย คงมีแผนงานระยะยาวที่จะทำให้กีฬาเทนนิสเมืองไทยมีมาตรฐานเท่าเทียมกับประเทศ อเมริกาและกลุ่มในประเทศยุโรป
กติกาเทนนิส
การแข่งขันประเภทเดี่ยว (The singles Game)
ข้อ 1 สนาม (The Court)
สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 78 ฟุต (23.77 เมตร) กว้าง 27 ฟุต (8.23 เมตร) และจะต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยตาข่าย (Net) ซึ่งห้อยลงมาจากเชือกขึงตาข่าย (Cord or Metal Cable) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1/3 นิ้ว (0.8 เซนติเมตร) ปลายเชือกขึงตาข่ายต้องขึงติดกับหัวเสาหรือพาดผ่านเสาสองต้น เสา (Post) ต้องเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวไม่เกิน 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) หรือเป็นเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) เสาทั้งสองนี้จะต้องไม่สูงกว่าส่วนบนของเชือกขึงตาข่ายเกิน 1 นิ้ว จุดกึ่งกลางของเสาทั้งสองต้นต้องอยู่ห่างจากสนามข้างละ 3 ฟุต (0.914 เมตร) ความสูงของเสาต้องทำให้ส่วนบนของเชือกขึงตาข่ายอยู่สูงจากพื้นสนาม 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร)ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวซึ่งใช้สนามและตาข่ายของประเภทคู่ (ดูกติกาข้อ 34) จะต้องปรับตาข่ายให้สูง 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร) โดยเพิ่มเสาขึ้นสองต้น เสาที่เพิ่มนี้เรียกว่า “ไม้ค้ำตาข่าย” (Singles Sticks) เสานี้ต้องเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวไม่เกิน 3 นิ้ว (7.5 เซนติเมตร) หรือเป็นเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3 นิ้ว (7.5 เซนติเมตร) จุดกึ่งกลางของไม้ค้ำตาข่ายต้องอยู่ห่างจากสนามประเภทเดี่ยวข้างละ 3 ฟุต (0.91 เมตร)
ตาข่ายต้องขึงเต็มปิดช่องระหว่างเสาทั้งต้นให้หมด ตาข่ายต้องมีตาขนาดเล็กพอที่จะไม่ให้ลูกเทนนิสลอดได้ ตรงจุดกึ่งกลางของตาข่ายต้องสูงจากพื้น 3 ฟุต (0.91 เมตร) และต้องมีแถบขึงตาข่าย (Strap) สีขาวกว้างไม่เกิน 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) ยึดไว้กับพื้น แต่ละด้านของตาข่ายต้องมีแถบหุ้มตาข่าย (Band) สีขาวหุ้มเชือกขึงตาข่ายและขอบบนของตาข่าย แถบนี้ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) และต้องไม่มากกว่า 2 1/2 นิ้ว (6.3 เซนติเมตร)ต้องไม่มีโฆษณาใดๆ บนตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือไม้ค้ำตาข่าย
เส้นที่อยู่ปลายสุดของสนามทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นหลัง” (Base-Line) เส้นทีอยู่ด้านข้างของสนามทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นข้าง” (Side-Lines) เส้นที่ลากขนานกับตาข่ายทั้งสองด้านและห่างจากตาข่ายด้านละ 21 ฟุต (6.40 เมตร) เรียกว่า “เส้นเสิร์ฟ” (Service Lines) เส้นตรงที่ลากจากจุดกึ่งกลางของเส้นเสิร์ฟด้านหนึ่งขนานกับเส้นข้างไปยังจุด กึ่งกลางของเส้นเสิร์ฟอีกด้านหนึ่ง เรียกว่า “เส้นเสิร์ฟกลาง” (Centre-Service-Line) เส้นนี้ต้องกว้าง 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) และจะแบ่งพื้นที่แต่ละด้านของตาข่ายระหว่างเส้นเสิร์ฟกับเส้นข้างออกเป็นสอง ส่วนเท่ากัน แต่ละส่วนเรียกว่า “คอร์ตเสิร์ฟ” (Service-Courts) เส้นหลังทั้งสองด้านจะถูกแบ่งครึ่งโดยจุดกึ่งกลาง (Centre Mark) ซึ่งเป็นเส้นขีดให้สัมผัสและตั้งฉากกับเส้นหลังเข้าไปในสนาม อยู่แนวเดียวกับเส้นเสิร์ฟกลางจุดกึ่งกลางนี้ต้องยาว 4 นิ้ว (10 เซนติเมตร) กว้าง 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) เส้นอื่นๆนอกจากนี้ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) และไม่มากกว่า 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) เว้นแต่เส้นหลังอาจกว้างได้ไม่มากกว่า 4 นิ้ว (10 เซนติเมตร) ความกว้างและขนาดของส่วนต่างๆ ของสนามต้องวัดจากขอบด้านนอกของแต่ละเส้น เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน
ประกาศโฆษณาหรือวัตถุใดๆที่อยู่ด้านหลังของสนามต้องไม่มีสีขาว สีเหลือง สีอ่อน อาจใช้ได้ถ้าไม่รบกวนสายตาของผู้เล่นประกาศโฆษณาที่ติดอยู่กับเก้าอี้ของผู้ กำกับเส้นซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังของสนาม ต้องไม่มีสีขาว สีอ่อนอาจใช้ได้ถ้าไม่รบกวนสายตาของผู้เล่น
หมายเหตุ ในการแข่งขันเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งประเทศ (Davis cup) หรือการแข่งขันชิงชนะเลิศซึ่งจัดขึ้นเป็นทางการโดยสหพันธ์เทนนิสระหว่าง ประเทศ ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องมีพื้นที่หลังเส้นแต่ละข้างไม่น้อยกว่า 21 ฟุต (6.4 เมตร) และมีพื้นที่ข้างสนามแต่ละข้างไม่น้อยกว่า 12 ฟุต (3.66 เมตร) เก้าอี้ผู้กำกับเส้นจะต้องวางไว้ทางด้านหลังสนามภายในระยะไม่เกิน 21 ฟุต และด้านข้างของสนามในระยะไม่เกิน 12 ฟุต แต่จะล้ำเข้ามาได้ไม่เกิน 3 ฟุต
ข้อ 2 สิ่งติดตั้งถาวร (Permanent Fixtures)
สิ่งติดตั้งถาวรของสนามเทนนิสมิได้หมายถึงตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่ายแถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่ใช้กั้นด้านหลังและด้านข้างสนาม อัฒจันทร์เก้าอี้ที่ติดตั้งอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ได้ ซึ่งตั้งไว้รอบสนาม รวมทั้งผู้ที่นั่งอยู่บนสิ่งเหล่านั้น เครื่องติดตั้งอื่นๆ ซึ่งอยู่รอบและเหนือสนาม ผู้ตัดสิน (Umpire) กรรมการเนต (Net-Cord Judge) กรรมการฟุตฟอลต์ (Footfault Judge) ผู้กำกับเส้น (Lonesmen) และเด็กเก็บลูก (Ball Boys) ซึ่งประจำตามหน้าที่อีกด้วยหมายเหตุ ตามความมุ่งหมายของกติกาข้อนี้ คำว่า “ผู้ตัดสิน” หมายถึง ผู้ตัดสินและผู้ช่วยเหลือผู้ตัดสินทั้งหมด
ข้อ 3 ลูกเทนนิส (The Ball)
ผิวนอกของลูกจะต้องกลมเรียบเสมอกันทั้งลูก ลูกต้องมีสีขาวหรือสีเหลือง ถ้ามีรอยต่อจะต้องไม่เป็นตะเข็บ ลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 1/2 นิ้ว (6.35 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 2 5/8 นิ้ว (6.67 เซนติเมตร) มีน้ำหนักมากกว่า 2 ออนซ์ (56.7 กรัม) แต่น้อยกว่า 2 1/16 ออนซ์ (58.5 กรัม) การกระดอนของลูกเมื่อทิ้งลงจากที่สูง 100 นิ้ว (254 เซนติเมตร) บนพื้นคอนกรีตจะต้องกระดอนสูงกว่า 53 นิ้ว (135 เซนติเมตร) แต่ต่ำกว่า 58 นิ้ว (147 เซนติเมตร) เมื่อกดปลายทั้งสองข้างของเส้นผ่าศูนย์กลางของ ลูกด้วยกำลัง 18 ปอนด์ (8.165 กิโลกรัม) ผิวของลูกจะยุบเข้าไปมากกว่า 0.022 นิ้ว (0.56 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 0.290 นิ้ว (0.75 เซนติเมตร) ส่วนที่โปร่งออกมาต้องมากกว่า 0.350 นิ้ว (0.89 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 0.425 นิ้ว (0.08 เซนติเมตร) ตัวเลขเหล่านี้คิดเฉลี่ยจากการกดลูกในแนวแกนทั้งสามของลูก และค่าที่ได้จากการกดในระหว่างแกนที่ต่างกันคู่หนึ่งต้องไม่ต่างกันมากกว่า 0.030 นิ้ว (0.08 เซนติเมตร)หากมีการแข่งขันในสถานที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 4,000 ฟุต (1,219 เมตร) อาจใช้ลูกเพิ่มได้อีกสองแบบ– แบบแรก มีลักษณะเหมือนดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่จะต้องมีแรงกระดอนสูงกว่า 48 นิ้วและต่ำกว่า 53 นิ้ว จะต้องมีแรงอัดภายในสูงกว่าแรงอัดภายนอก ลูกเทนนิสแบบนี้รู้จักกันในนามลูกเทนนิสแบบมีแรงอัด (Perssurised)
– แบบที่สอง มีลักษณะเหมือนกับที่กล่าวมาแล้ว แต่ต้องมีแรงกระดอนสูงกว่า 53 นิ้ว ต่ำกว่า 58 นิ้ว และจะต้องมีแรงอัดภายในพอๆกับแรงอัดภายนอก และจะต้องนำมาไว้ที่สถานที่แข่งขันแล้วประมาณ 60 วันหรือมากกว่านั้นเพื่อให้ปรับสภาพเท่ากับอากาศ ลูกเทนนิสแบบนี้เรียกว่าลูกเทนนิสแบบไร้แรงอัด (Non Pressurised)
ข้อ 4 ไม้เทนนิส (The Racket)
ไม้เทนนิสที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้จะนำมาใช้แข่งขันภายใต้กติกาของเทนนิสไม่ได้คือ(1) พื้นที่ส่วนที่ใช้ตีลูกของไม้เทนนิสต้องแบบเรียบประกอบด้วยเอ็นถักเป็นแบบ เดียวกันติดกับกรอบ (Frame) และต้องถักแบบสลับหรือมัดติดกันตรงบริเวณที่เอ็นซ้อนกัน การถักต้องสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตรงกลางของไม้เทนนิส จำนวนเอ็นต้องไม่ถี่น้อยกว่าบริเวณอื่น เอ็นของไม้เทนนิส ต้องไม่มีวัสดุใดๆ ที่ติดอยู่หรือยื่นออกมานอกจากสิ่งที่ใช้เพื่อป้องกันหรือจำกัดการสึกหรอการ สั่นสะเทือนเท่านั้น สิ่งดังกล่าวต้องมีขนาด และตำแหน่งที่เหมาะสมกับจุดประสงค์นั้นๆ
(2) กรอบ (Frame) รวมทั้งด้าม (Handle) ต้องมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 32 นิ้ว (81.28 เซนติเมตร) และกรอบต้องกว้างไม่เกิน 12 1/2 นิ้ว (31.75 เซนติเมตร) บริเวณพื้นที่สำหรับขึงเอ็นต้องมีความยาวไม่เกิน 15 1/2 นิ้ว (39.37 เซนติเมตร) และกว้างไม่เกิน 11 1/2 นิ้ว (29.21 เซนติเมตร)
(3) กรอบและด้าม ต้องไม่มีวัตถุใดที่ติดอยู่หรือยื่นออกมานอกจากสิ่งที่ทำไว้เพื่อป้องกัน หรือจำกัดการสึกหรอ การสั่นสะเทือนหรือการกระจายน้ำหนักเท่านั้น สิ่งดังกล่าวต้องมีขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมกับจุดประสงค์นั้นๆ
(4) กรอบด้ามและเอ็น ต้องไม่มีอุปกรณ์ใดๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือเปลี่ยนแปลงการกระจาย น้ำหนักของไม้เทนนิสในระหว่างการแข่งขันแต้มหนึ่งๆ สหพันธ์เทนนิสระหว่างประเทศจะเป็นผู้ตัดสินในกรณีที่มีปัญหาว่าไม้เทนนิสใด จะมีลักษณะตรงตามข้อกำหนดข้างต้นหรือไม่ หรือจะสามารถนำไม้เทนนิสนั้นมาใช้ในการเล่นได้หรือไม่การตัดสินนี้จะทำได้ เมื่อเห็นสมควรหรือเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักเทนนิส ผู้ผลิต สมาคมระหว่างประเทศ (Naitonal Association) หรือสมาชิกได้ทักท้วงขึ้น
กรณีศึกษา
ปัญหาที่ 1 : ไม้เทนนิสอันหนึ่งจะขึงเอ็นมากกว่าหนึ่งชุดได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ตามกติกาได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่า การขึงเอ็นไม้เทนนิสอย่างไรจึงจะถูกต้อง และอย่างไรไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่ 2 : การขึงเอ็นไม้เทนนิสจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าระดับของเอ็นที่ขึงสูงต่ำไม่เท่ากัน
ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่ 3 นักเทนนิสสามารถใช้ชิ้นส่วนกันสะเทือนติดบนเอ็นของไม้เทนนิสได้หรือไม่ถ้าได้จะต้องติดตรงไหน
ข้อชี้ขาด : ติดได้ แต่ต้องติดไว้นอกเส้นที่ไขว้กันของเอ็นเท่านั้น
ปัญหาที่ 4 : ขณะแข่งขัน เอ็นไม้เทนนิสของนักกีฬาขาดนักกีฬาสามารถเล่นต่อไปได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ได้
ข้อ 5 ผู้เสิร์ฟและผู้รับ (Server & Receiver)
ผู้เล่นจะต้องอยู่คนละข้างของตาข่าย ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ส่งก่อนเรียกว่า “ผู้เสิร์ฟ” (Server) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเรียก “ผู้รับ” (Receiver)ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นขณะพยายามตีลูก หากล้ำแนวเส้นสมมติที่ลากตรงต่อจากตาข่ายออกไปจะเสียแต้มหรือไม่
(1) ก่อนตีถูกลูก
(2) หลังตีถูกลูกแล้ว
ข้อชี้ขาด : ไม่เสียแต้มทั้งสองกรณี เว้นแต่ผู้นั้นจะล้ำเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้ (กติกา ข้อ 20 (5)) ในกรณีที่เกิดการขัดขวางใดๆขึ้น คู่ต่อสู้ของผู้นั้นอาจจะขอคำตัดสินจากผู้ตัดสินได้ตามกติกาข้อ 21 และข้อ 25
ปัญหาที่ 2 : ผู้เสิร์ฟอ้างว่าผู้รับจะต้องยืนอยู่ภายในเส้นขอบของสนามถูกต้องหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกต้อง ผู้รับจะยืนอยู่ที่ใดในด้านของตนก็ได้ตามใจชอบ
ข้อ 6 การเลือกแดนและเลือกเสิร์ฟ (Choice of Ends & Service)
การเลือกแดนก็ดี การเลือกสิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับในเกมแรกก็ดี ให้ชี้ขาดด้วยการเสี่ยง (Toss) ผู้เล่นที่ชนะในการเสี่ยงจะมีสิทธิ์เลือกหรือขอร้องให้คู่ต่อสู้เลือก(1) สิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับ ในกรณีที่ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้เลือกแดนหรือ
(2) เลือกแดน ในกรณีนี้ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์ที่จะเลือกเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับ
ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นมีสิทธิ์เล่นใหม่หรือไม่ ถ้ามีการเลื่อนการแข่งขันหรือหยุดการแข่งขัน
ข้อชี้ขาด : มีสิทธิ์ ถือว่าการเสี่ยงทายเดิมใช้ได้ แต่การเลือกอาจจะเปลี่ยนเป็นเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดนใหม่
ข้อ 7 การเสิร์ฟ (The Service)
การเสิร์ฟจะต้องกระทำดังนี้ คือ ก่อนเสิร์ฟผู้เสิร์ฟต้องยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างหลังเส้นหลัง (คือให้เส้นหลังอยู่ระหว่างตาข่ายกับผู้เสิร์ฟ) และยืนอยู่ระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลาง (Center-Mark) และเส้นข้าง ต่อจากนั้นให้ผู้เสิร์ฟใช้มือโยนลูกขึ้นไปในอากาศในทิศทางใดก็ได้แล้วใช้ไม้ เทนนิสตีลูกนั้นก่อนตกถึงพื้น เมื่อไม้เทนนิสสัมผัสลูกก็ถือว่าการเสิร์ฟครั้งนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ถ้าผู้เล่นมีแขนข้างเดียวจะใช้ไม้เทนนิสช่วยโยนลูกในการเสิร์ฟก็ได้ปัญหาที่ 1 : ในการเล่นเดี่ยว ผู้เสิร์ฟจะยืนหลังเส้นหลังในแนวที่อยู่ระหว่างเส้นข้างของสนามประเภทเดี่ยว กับเส้นข้างของสนามประเภทคู่ได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้
ปัญหาที่ 2 : ผู้เล่นขณะทำการเสิร์ฟ โยนลูกขึ้นไป 2 ลูก หรือมากกว่า แทนที่จะโยนลูกเดียว จะถือว่าผู้นั้นเสิร์ฟเสียหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ถือว่าเสีย ผู้ตัดสินควรขาน “เล็ท” แต่ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ อาจจะถือปฏิบัติตามกติกาข้อ 21 ก็ได้
ข้อ 8 ฟุทฟอลท์ (Foot Fault)
(1) ตลอดการเสิร์ฟผู้เสิร์ฟจะต้อง– ไม่เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง ผู้เสิร์ฟที่เคลื่อนที่เท้าเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้เท้าเคลื่อนจากจุดเดิม จะไม่ถือว่า “เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง”
– ไม่สัมผัสที่พื้นส่วนใดนอกจากพื้นที่อยู่หลังเส้นในระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลาง (Center mark) และเส้นข้าง
(2) คำว่า “เท้า” หมายถึงส่วนของปลายขานับตั้งแต่ข้อเท้าลงไป
ข้อ 9 วิธีการเสิร์ฟ (Delivery lf Service)
(1) ในการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟต้องยืนหลังสนามด้านขวาและซ้ายสลับกันไป เริ่มจากด้านขวาก่อนทุกเกม ถ้ามีการเสิร์ฟผิดด้านโดยไม่มีผู้ทักท้วง แต้มและการเสิร์ฟที่ผ่านไปคงใช้ได้ทั้งหมดแต่เมื่อพบข้อผิดพลาดให้เปลี่ยนไป เสิร์ฟในด้านที่ถูกต้องทันที
(2) ลูกที่เสิร์ฟจะต้องข้ามตาข่ายไปสัมผัสพื้นสนามภายในคอร์ตเสิร์ฟซึ่งอยู่ทแยง กันหรือบนเส้นใดเส้นหนึ่งที่ล้อมรอบคอร์ตเสิร์ฟนั้น ก่อนผู้รับจะตีโต้ลูกกลับ
ข้อ 10 ลูกเสิร์ฟเสีย (Service Fault)
การเสิร์ฟที่ถือว่าเสียคือ(1) ถ้าผู้เสิร์ฟทำผิดกติกาข้อ 7.8 หรือ 9
(2) ถ้าผู้เสิร์ฟตีลูกอย่างเจตนาแต่ไม่ถูก
(3) ถ้าลูกที่เสิร์ฟไปนั้นสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรอย่างใด (นอกจากตาข่าย แถบขึงตาข่ายหรือแถบหุ้มตาข่าย) ก่อนสัมผัสพื้น
ปัญหาที่ 1 : หลังจากโยนลูกเพื่อเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟเปลี่ยนใจไม่ตีลูก แต่ใช้มือรับลูกจะถือว่าลูกนั้นเสียหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่เสีย
ปัญหาที่ 2 : ในการเล่นเดี่ยวที่ใช้สนามประเภทคู่ โดยมีเสาขึงตาข่ายอยู่ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ หากเสิร์ฟลูกไปกระทบเสาขึงตาข่ายประเภทเดี่ยวและตกลงในสนามที่ถูกต้องลูกนี้ จะถือว่าเสียหรือเล็ท
ข้อชี้ขาด : ถือว่าเสีย เพราะเสาขึงตาข่ายทั้งประเภทเดี่ยวและคู่รวมทั้งตาข่าย และแถบหุ้มตาข่ายที่อยู่ระหว่างเสาทั้งสองถือเป็นสิ่งติดตั้งถาวร (ตามกติกาข้อ 2 ข้อ 10 และหมายเหตุท้าย กติการข้อ 24)
ข้อ 11 การเสิร์ฟลูกที่สอง (Second Service)
เมื่อเสิร์ฟลูกแรกเสีย ผู้เสิร์ฟจะต้องเสิร์ฟอีกลูกหนึ่งจากหลังสนามด้านเดิมที่เสิร์ฟลูกแรกไปแล้ว ถ้าลูกแรกที่เสิร์ฟเสียนั้นผู้เสิร์ฟยืนผิดด้าน ให้ผู้เสิร์ฟใหม่อีกลูกเดียวจากหลังอีกด้านหนึ่งตามกติกาข้อ 9ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นยืนผิดด้าน เสิร์ฟลูกจนเสียแต้มไปแล้วจะอ้างว่าเขาเสิร์ฟเสียเพราะยืนผิดด้านได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ แต้มต้องเป็นไปตามที่เล่นไปแล้ว สำหรับการเสิร์ฟลูกต่อไปต้องเสิร์ฟจากด้านที่ถูกต้องตามแต้มที่เล่นเสร็จไปแล้ว
ปัญหาที่ 2 : ขณะแต้ม 15 เท่ากัน ผู้เสิร์ฟจากสนามด้านซ้ายแล้วได้แต้มนั้นต่อมาเขาเสิร์ฟจากด้านขวาและเสียไป หนึ่งลูกแล้วจึงรู้ว่าเสิร์ฟผิดด้าน ผู้เสิร์ฟนั้นจะได้แต้มที่ได้ไปแล้วหรือไม่ และลูกต่อไปจะต้องเสิร์ฟจากด้านใด
ข้อชี้ขาด : แต้มที่ได้นั้นถือว่าชอบแล้ว ลูกต่อไปต้องเสิร์ฟจากด้านซ้ายตามแต้มที่ได้ คือ 30-15 และผู้เสิร์ฟเสียไปแล้วหนึ่งลูก
ข้อ 12 โอกาสที่จะเสิร์ฟ (When to Serve)
ผู้เสิร์ฟจะเสิร์ฟไม่ได้จนกว่าผู้รับพร้อมที่จะรับ หากผู้รับได้พยายามรับลูกต้องถือว่าผู้รับพร้อมที่จะรับลูกแล้ว ถ้าผู้รับแสดงท่าทางว่าตนยังไม่พร้อมที่จะรับลูกผู้รับจะอ้างว่าลูกเสิร์ฟ นั้นเสียไม่ได้หากว่าลูกเสิร์ฟนั้นมิได้สัมผัสพื้นสนามที่ถูกต้องข้อ 13 การขานเล็ท (The Let)
ทุกกรณีที่ขานคำว่า “เล็ท” ตามกติกานี้ หรือขานเพื่อหยุดยั้งการเล่นครั้งใดก็ตามให้ตีความหมายดังนี้(1) เมื่อขานขึ้นเฉพาะการเสิร์ฟลูกนั้นใหม่
(2) เมื่อขานขึ้นในกรณีอื่นๆ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่
ปัญหาที่ 1 : ถ้าการเสิร์ฟมีสิ่งขัดขวางเกิดขึ้น นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกติการข้อ 14 ควรให้เสิร์ฟลูกนั้นใหม่หรืออย่างไร
ข้อชี้ขาด : ไม่ใช่ ต้องเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมด
ปัญหาที่ 2 : ถ้าลูกที่อยู่ในการเล่นเกิดแตกขึ้น ควรขานเล็ทหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ควร
ข้อ 14 การขานเล็ทในขณะเสิร์ฟ (The “Let” in Service)
การเสิร์ฟที่ถือว่าเล็ท คือ(1) เมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่ายหรือแถบหุ้มตาข่าย แล้วตกในสนามที่ถูกต้อง หรือเมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายแล้วสัมผัสร่างกายผู้รับ หรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนลูกนั้นสัมผัสพื้น
(2) เมื่อได้เสิร์ฟไปในขณะผู้รับไม่พร้อมที่จะรับ ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟที่ดีหรือเสียก็ตาม (ดูกติกาข้อ 12)
เมื่อมีการเสิร์ฟเป็นเล็ท ไม่มีฝ่ายใดได้แต้ม และผู้เสิร์ฟต้องเสิร์ฟลูกนั้นใหม่ การเสิร์ฟที่เป็นเล็ทไม่ทำให้การเสิร์ฟที่เสียไปในลูกแรกกลัยเป็นลูกดีได้
ข้อ 15 ลำดับการเสิร์ฟ (Order of Service)
เมื่อจบเกมแรก ผู้รับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้เสิร์ฟ และผู้เสิร์ฟต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับ สลับกันเรื่อยไปจนกว่าจะจบการแข่งขัน (Match) ถ้าผู้เล่นคนใดเสิร์ฟผิดรอบ ผู้เล่นที่ควรจะเป็นผู้เสิร์ฟจะต้องเป็นผู้เสิร์ฟต่อไปทันทีที่ได้พบข้อผิด พลาด แต้มที่เล่นไปแล้วก่อนได้พบข้อผิดพลาดคงนับด้วยถ้าเกมนั้นจบลงก่อนได้พบข้อ ผิดพลาด ลำดับการเสิร์ฟเกมต่อๆไปให้เป็นไปตามที่ผิดพลาดไปแล้วนั้นแต่ลูกที่ผู้ เสิร์ฟผิดรอบเสิร์ฟเสียไปหนึ่งลูกซึ่งเกิดขึ้นก่อนได้พบข้อผิดพลาดไม่ต้อง นับข้อ 16 การเปลี่ยนข้าง (When Players Change Ends)
ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่หนึ่ง เกมที่สอง และทุกๆเกมคี่ของแต่ละเซต (Set) และต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเซตนั้นรวมกันแล้วเป็นเลขคู่ ในกรณีนี้จะไม่เปลี่ยนข้างจนกว่าจะจบเกมที่หนึ่งของเซตต่อไป ถ้าเกิดข้อผิดพลาดทำให้ลำดับการเปลี่ยนข้างไม่ถูกต้อง ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างให้ถูกต้องทันทีที่พบข้อผิดพลาดและดำเนินการต่อไปตาม ลำดับการเปลี่ยนข้างที่เลือกไว้แต่เดิมข้อ 17 ลูกอยู่ในการเล่น (The Ball in Play)
นับตั้งแต่เมื่อได้ทำการเสิร์ฟไปแล้วจนการทั้งผู้เล่นได้หรือเสียแต้มถือว่าลูกนั้นอยู่ในการเล่นเว้นแต่จะมีการขานว่าเล็ทหรือเสียปัญหา : ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งตีโต้ลูกไปแต่เสีย กรรมการไม่ขานว่า “เสีย” และการเล่นยังคงดำเนินต่อไป ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าตนได้แต้มนั้นหลังจากตีโต้กันจนจบแต้มนั้นแล้ว ได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ถ้าผู้เล่นยังเล่นต่อไปหลังจากมีลูกเสียที่เกิดขึ้นแล้วฝ่ายใดจะอ้างว่าตน ได้แต้มนั้นไม่ได้ เว้นแต่คู่ต่อสู้จะถูกขัดขวางการเล่น
ข้อ 18 ผู้เสิร์ฟได้แต้ม (Server Wins Point)
ผู้เสิร์ฟจะได้แต้มเมื่อ(1) ลูกที่เสิร์ฟที่มิได้เป็นเล็ทดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 14 ไปสัมผัสผู้รับหรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนที่จะสัมผัสพื้น
(2) ผู้รับทำเสียแต้ม ดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 20
ข้อ 19 ผู้รับได้แต้ม (Receiver Wins Point)
ผู้รับจะได้แต้มเมื่อ(1) ผู้เสิร์ฟเสียสองลูกติดต่อกัน
(2) ผู้เสิร์ฟทำเสียแต้ม ดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 20
ข้อ 20 ผู้เล่นเสียแต้ม (Player Loses Point)
ผู้เล่นจะเสียแต้มเมื่อ(1) ผู้นั้นไม่สามารถตีลูกที่อยู่ในการเล่นให้ข้ามตาข่ายกลับไปก่อนที่ลูกจะ สัมผัสพื้นสองครั้ง (เว้นแต่ที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 24 (1) หรือ (3)) หรือ
(2) ผู้นั้นตีลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสพื้นสิ่งติดตั้งถาวรหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งอยู่นอกเส้นที่ล้อมรอบสนามของคู่ต่อสู้ (เว้นแต่ที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 24 (1) หรือ (3)) หรือ
(3) ผู้นั้นตีลูกก่อนลูกตกถึงพื้น (Volleys) แต่เสียแม้จะยืนอยู่นอกสนามก็ตามหรือ
(4) ผู้นั้นใช้ไม้เทนนิสสัมผัสลูกหรือตีลูกที่อยู่ในการเล่นมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือ
(5) ร่างกายหรือไม้เทนนิสของผู้นั้น (ไม่ว่าจะถืออยู่หรือหลุดจากมือแล้วก็ตาม) หรือสิ่งที่ผู้นั้นสวมหรือถืออยู่สัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือสนามของคู่ต่อสู้ในขณะที่ลูกอยู่ในการเล่น หรือ
(6) ผู้นั้นตีลูกก่อนลูกนั้นตกถึงพื้น (Volleys) ก่อนลูกนั้นข้ามตาข่ายมา หรือ
(7) ลูกที่อยู่ในการเล่นสัมผัสร่างกายของผู้นั้น หรือสิ่งใดที่สวมหรือถืออยู่ เว้นแต่ไม้เทนนิสที่เขาถืออยู่ด้วยมือเดียว หรือสองมือก็ตาม หรือ
(8) ผู้นั้นขว้างไม้เทนนิสไปถูกลูก หรือ
(9) ผู้นั้นตั้งใจทำให้รูปร่างของไม้เทนนิสที่ใช้ตีอยู่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการเล่นแต้มนั้น
ปัญหาที่ 1 : ในการเสิร์ฟ ถ้าไม้เทนนิสหลุดมือไปสัมผัสตาข่ายก่อนลูกสัมผัสสนามจะถือว่าผู้เสิร์ฟเสียลูกนั้นหรือเสียแต้มนั้นทั้งหมด
ข้อชี้ขาด : ผู้เสิร์ฟเสียแต้ม เพราะไม้เทนนิสสัมผัสตาข่าย ขณะลูกอยู่ในการเล่น (กติกา ข้อ 20 (5))
ปัญหาที่ 2 : ในการเสิร์ฟ ถ้าไม้เทนนิสหลุดมือไปสัมผัสตาข่ายหลังลูกสัมผัสพื้นนอกเขตสนามที่ถูกต้อง จะถือว่าผู้เสิร์ฟเสียลูกนั้นหรือเสียแต้มทั้งหมด
ข้อชี้ขาด : เสียเฉพาะลูกนั้น เพราะขณะไม้เทนนิสสัมผัสตาข่ายลูกมิได้อยู่ในการเล่นแล้ว
ปัญหาที่ 3 : ก. และ ข. กำลังแข่งขันกับ ค. และ ง. ขณะ ก. เสิร์ฟไปที่ ง. ปรากฏว่า ค. สัมผัสตาข่ายก่อนลูกที่ ก. เสิร์ฟจะสัมผัสสนาม หลังจากนั้นผู้ตัดสินขานว่า “เสีย” เพราะลูกที่ ก. เสิร์ฟตกนอกคอร์ตเสิร์ฟ ดังนี้ ผ่าย ค. และ ง. จะเสียแต้มหรือไม่
ข้อชี้ขาด : การขานว่า “เสีย” นั้นไม่ถูกต้อง เพราะ ค. และ ง. ได้เสียแต้มนั้นแล้ว ก่อนขานว่า “เสีย” เนื่องจาก ค. สัมผัสตาข่ายขณะลูกอยู่ในการเล่น (กติกาข้อ 20 (5)
ปัญหาที่ 4 : ขณะลูกอยู่ในการเล่น ผู้เล่นจะกระโดดข้ามตาข่ายไปในสนามของคู่ต่อสู้ได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ผู้นั้นต้องเสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (5))
ปัญหาที่ 5 : ก. ตีลูกตัด ลูกวิ่งข้ามตาข่ายไปแล้วแต่ลอยย้อนกลับมาในสนามด้านของ ก. อีกดังนี้หาก ข. ไม่สามารถเอื้อมตีลูกได้ทันจึงขว้างไม้เทนนิสไปกระทบลูก ทั้งลูกและไม้เทนนิสของ ข. ข้ามตาข่ายไปตกในสนามด้าน ของ ก. ก. ตีลูกกลับไปแต่ตกนอกสนามด้านของ ข. ดังนี้ ข. จะได้แต้มหรือเสียแต้ม
ข้อชี้ขาด : ข. เป็นผู้เสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (5) และ (8))
ปัญหาที่ 6 : ผู้เล่นยืนอยู่นอกคอร์ตเสิร์ฟ ลูกเสิร์ฟลอยมาสัมผัสผู้เล่นนั้นก่อนสัมผัสพื้นผู้เล่นนั้นจะได้แต้มหรือเสียแต้ม
ข้อขี้ขาด : เสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (7)) เว้นแต่จะเป็นไปตามกติกาข้อ 14 (1)
ปัญหาที่ 7 : ผู้เล่นยืนอยู่นอกสนาม ใช้ไม้เทนนิสตีลูกหรือใช้มือรับลูกแล้วอ้างว่าตนได้แต้มนั้นเนื่องจากลูก นั้นจะต้องตกนอกสนามอย่างแน่นอน
ข้อชี้ขาด : ผู้เล่นนั้นจะอ้างว่าตนได้แต้มไม่ได้ไม่ว่ากรณีใด
(1) ถ้าใช้มือรับลูก ผู้นั้นเสียแต้มตามกติกาข้อ 20 (7)
(2) ถ้าตีลูกก่อนลูกนั้นถึงพื้นแต่เสีย ผู้นั้นเสียแต้มตามกติกาข้อ 20 (3)
(3) ถ้าตีลูกก่อนลูกนั้นตกถึงพื้นและเป็นลูกดี การแข่งขันคงดำเนินต่อไป
ข้อ 21 การขัดขวางคู่ต่อสู้ (Player Hinders Opponent)
หากผู้เล่นฝ่ายใดกระทำโดยจงใจเพื่อขัดขวางมิให้คู่ต่อสู้ตีลูกถือว่าผู้นั้นเสียแต้ม หากมิได้กระทำโดยจงใจ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นจะถูกลงโทษหรือไม่ ถ้าหากขณะตีลูกผู้เล่นนั้นสัมผัสตัวคู่ต่อสู้
ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกลงโทษ เว้นแต่ผู้ตัดสินเห็นว่าจำเป็นต้องลงโทษตามกติกาข้อ 21
ปัญหาที่ 2 : เมื่อลูกซึ่งข้ามตาข่ายมาสัมผัสพื้นแล้วกระดอนข้ามตาข่ายกลับไปอีก ผู้เล่นที่จะต้องตีลูกนั้นสามารถเอื้อมข้ามตาข่ายไปตีลูกนั้นได้ จะใช้กติกาข้อไหนตัดสิน ถ้าหากผู้เล่นนั้นถูกคู่ต่อสู้ขัดขวางไม่ให้ตีลูก
ข้อชี้ขาด : ใช้กติกาข้อ 21 คือ ผู้ตัดสินอาจให้ผู้เล่นที่ถูกขัดขวางได้แต้มนั้น หรืออาจสั่งให้เล่นแต้มนั้นใหม่ก็ได้ (ดูกติกาข้อ 25)
ปัญหาที่ 3 : การตีลูกสองครั้งโดยไม่เต็มใจถือว่าเป็นการกระทำเพื่อขัดขวางคู่ต่อสู้ตามกติกาข้อ 21 หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ใช่
ข้อ 22 ลูกที่ตกบนเส้น (Ball Falls on Line)
ลูกที่ตกบนเส้นใดๆก็ตามให้ถือว่าตกในสนามที่เส้นนั้นล้อมอยู่ข้อ 23 ลูกสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวร (Ball Touches Permanent Fixtures)
ถ้าลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรใดๆ (นอกจากตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย หรือแถบหุ้มตาข่าย) หลังจากได้สัมผัสสนามแล้ว ผู้เล่นที่ตีลูกนั้นได้แต้ม แต่ถ้าลูกนั้นสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรดังกล่าวข้างต้นก่อนสัมผัสสนาม คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายได้แต้มปัญหา : ในการตีโต้ลูก ลูกสัมผัสผู้ตัดสิน เก้าอี้หรือขาเก้าอี้ของผู้ตัดสิน ผู้เล่นจะอ้างว่า ลูกนั้นกำลังจะวิ่งไปตกในสนามได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : อ้างไม่ได้ ต้องถือว่าผู้นั้นเสียแต้ม
ข้อ 24 การตีโต้ที่ดี (A Good Return)
การตีโต้ที่ถือว่าดี คือ(1) ถ้าลูกสัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย หรือแถบหุ้มตาข่าย แล้วข้ามสิ่งดังกล่าวไปตกในสนาม
(2) เมื่อลูกที่เสิร์ฟหรือตีโต้กลับมา ข้ามตาข่ายตกในสนามที่ถูกต้องแล้วกระดอนข้ามตาข่ายกลับไป ถ้าผู้เล่นที่ถึงรอบจะต้องตีลูกเอื้อมข้ามตาข่ายไปตีลูก โดยมิให้ร่างกายหรือส่วนใดของเสื้อผ้าหรือไม้เทนนิสสัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือสนามด้านของคู่ต่อสู้ และลูกนั้นเป็นลูกดี หรือ
(3) ถ้าลูกวิ่งอ้อมนอกเสาหรือไม้ค้ำตาข่าย ไม่ว่าจะวิ่งระดับสูงหรือต่ำกว่าตาข่ายหรือแม้จะสัมผัสเสาหรือไม้ค้ำตาข่าย แล้วไปสัมผัสสนามที่ถูกต้อง หรือ
(4) ถ้าไม้เทนนิสของผู้เล่นข้ามตาข่ายไปหลังจากตีลูกกลับไปแล้วแต่ต้องมิใช่ตี ลูกก่อนข้ามตาข่ายเข้ามาในสนามด้ายของตน และเป็นการตีโต้ที่ดี หรือ
(5) ถ้าลูกที่ตีโต้ไปแล้วหรือเสิร์ฟไปแล้วกระทบลูกอื่นซึ่งอยู่ภายในสนาม
หมาย เหตุ : ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวในสนามประเภทคู่เพื่อความสะดวกจะใช้ไม้ค้ำตาข่ายมา ค้ำตาข่ายไว้ กรณีเช่นนี้ เสา ส่วนของตาข่าย เชือกขึงตาข่ายและแถบหุ้มตาข่ายซึ่งอยู่นอกไม้ค้ำตาข่าย ต้องถือว่าเป็นสิ่งติดตั้งถาวร และไม่ถือว่าเป็นเสาหรือตาข่ายของการแข่งขันประเภทเดี่ยว
ลูกที่ตีโต้กัน หากวิ่งลอดเชือกที่ขึงตาข่าย (Net Cord) ระหว่างไม้ค้ำตาข่ายและเสา โดยมิได้สัมผัสเชือกขึงตาข่าย ตาข่าย หรือเสา แล้วตกในสนามถือว่าเป็นลูกดี
ปัญหาที่ 1 : ลูกซึ่งกำลังจะวิ่งออกไปนอกสนามแต่ชนเสาหรือไม้ค้ำตาข่ายและตกลงในสนามของคู่ต่อสู้ จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่
ข้อชี้ขาด : ถ้าเป็นลูกเสิร์ฟถือว่าเป็นลูกเสีย ตามกติกาข้อ 10 (3) ถ้าเป็นลูกอื่นนอกจากเสิร์ฟถือว่าดี (ตามกติกาข้อ 24 (1))
ปัญหาที่ 2 : จะถือว่าลูกที่ตีโต้กลับไปเป็นลูกดีหรือไม่ ถ้าผู้นั้นจับไม้เทนนิสสองมือในการตีลูก
ข้อชี้ขาด : ถือเป็นลูกดี
ปัญหาที่ 3 : ถ้าลูกเสิร์ฟหรือลูกที่อยู่ในการเล่นไปกระทบลูกที่อยู่ในสนามจะถือว่าได้เสียแต้มเลยหรือไม่
ข้อชี้ขาด อยังไม่ได้หรือเสียแต้ม การแข่งขันต้องดำเนินต่อไป หากผู้ตัดสินไม่แน่ใจว่าลูกที่ตีโต้กันอยู่นั้นจะเป็นลูกที่ถูกต้อง ก็ควรขานเล็ท
ปัญหาที่ 4 : ในระหว่างการเล่น ผู้เล่นจะใช้ไม้เทนนิสมากว่าหนึ่งอันได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ กติกาที่มีอยู่ทั้งหมดนี้หมายถึงการใช้ไม้เทนนิสอันเดียวเท่านั้น
ปัญหาที่ 5 : ผู้เล่นจะขอให้เอาลูกที่ตกอยู่ในสนามของคู่ต่อสู้ออกไปก่อนได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ได้ แต่ต้องไม่ใช้ขณะลูกอยู่ในการเล่น
ข้อ 25 ผู้เล่นถูกขัดขวาง (Hindrance of a Player)
ในระหว่างการตีลูก ถ้าผู้เล่นถูกขัดขวางโดยสิ่งใดซึ่งพ้นวิสัยที่เขาจะแก้ไขได้เว้นแต่สิ่งติด ตั้งถาวรหรือเว้นแต่สิ่งซึ่งระบุไว้ในกติกาข้อ 21 ให้ขาน “เล็ท”ปัญหาที่ 1 : ถ้าผู้ดูเข้ามาขัดขวาง ทำให้ผู้เล่นไม่อาจตีโต้ลูก ผู้เล่นจะขอให้ขานเล็ทได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ได้ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นถูกขัดขวางโดยสภาพที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของ ผู้เล่น แต่ต้องไม่ใช่เนื่องจากสิ่งติดตั้งถาวรหรือเครื่องประดับของสนาม
ปัญหาที่ 2 : ผู้เล่นถูกขัดขวางเช่นเดียวกับปัญหาที่ 1 และผู้ตัดสินขานว่าเล็ทแล้ว ถ้าผู้เสิร์ฟได้เสิร์ฟลูกแล้วหนึ่งลูกก่อนขานเล็ท ผู้เสิร์ฟมีสิทธิ์เสิร์ฟใหม่สอง ลูกหรือไม่
ข้อชี้ขาด : มีสิทธิ์ เพราะลูกกำลังอยู่ในการเล่นซึ่งตามกติกาจะต้องเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมดไม่ใช่เล่นใหม่เฉพาะลูกเดียว
ปัญหาที่ 3 : ผู้เล่นจะขอให้เล่นแต้มนั้นใหม่ตามกติกาข้อ 25 เนื่องจากผู้เล่นคิดว่าคู่ต่อสู้จะถูกขัดขวางไม่ให้เล่นลูก และผู้เล่นลูก และผู้เล่นไม่คิดว่าลูกนั้นจะถูกตีโต้กลับมา จะได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ไม่ได้
ปัญหาที่ 4 : จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่ หากลูกที่อยู่ในการเล่นไปกระทบลูกอีกลูกหนึ่งในอากาศ
ข้อชี้ขาด : ควรขานเล็ท เว้นเสียแต่ลูกที่อยู่ในอากาศนั้นเกิดจากการกระทำของผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ผู้ตัดสินจะชี้ขาดตามกติกาข้อ 21
ปัญหาที่ 5 : ถ้าผู้ตัดสินหรือกรรมการอื่นขานผิดพลาดว่า “เสีย” (Fault) หรือ “ออก” (Out) แล้วขานใหม่เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองเช่นนี้จะถือว่าการขานครั้งใดถู ต้อง
ข้อชี้ขาด : ผู้ตัดสินจะต้องขานเล็ท เว้นแต่จะเห็นว่าไม่มีฝ่ายใดถูกขัดขวางการเล่นเนื่องมาจากการขานดังกล่าว นั้น ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าการขานที่แก้ไขใหม่นั้นถูกต้อง
ปัญหาที่ 6 : ถ้าลูที่เสิร์ฟเสียไปในการเสิร์ฟลูกแรกกระดอนขึ้นมาขัดขวางผู้รับในขณะรับ ลูกเสิร์ฟลูกที่สอง ผู้รับจะขอให้ขานเล็ทได้หรือไม่
ข้อชี้ขาด : ได้ แต่ถ้าผู้รับโอกาสที่จะเอาลูกที่เสิร์ฟเสียลูกแรกออกไปให้พ้นสนามได้แต่ เพิกเฉยไม่ทำ ผู้รับจะขอให้ขานเล็ทไม่ได้
ปัญหาที่ 7 : ลูกที่ตีโต้กันอยู่จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่ ถ้าลูกนั้นไปสัมผัสวัตถุใดที่อยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวอยู่ในสนาม
ข้อชี้ขาด : หากวัตถุที่อยู่กับที่นั้นเข้ามาภายในสนามหลังที่เริ่มเล่นลูกไปแล้ว ต้องขานเล็ท แต่ถ้าวัตถุอยู่กับที่นั้นเข้ามาในสนามก่อนเริ่มเล่นลูกต้องถือว่าลูกนั้น เป็นลูกดี แต่ถ้าลูกที่อยู่ในระหว่างการเล่นไปกระทบวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวบนสนามหรือ เหนือพื้นสนาม จะต้องขานเล็ท
ปัญหาที่ 8 : ถ้าหากลูกเสิร์ฟลูกแรกเสีย ลูกเสิร์ฟลูกที่สองดี แล้วเกิดความจำเป็นต้องขานเล็ท ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีจะเป็นไปตามกติกาข้อ 25 หรือกรณีที่ผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินว่าแต้มนั้นเป็นของใครก็ดีจะใช้กติกา ข้อไหนตัดสิน
ข้อชี้ขาด : จะต้องยกเลิกลูกเสิร์ฟที่เสียไปแล้ว และเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมด
ข้อ 26 วิธีนับแต้มในแต่ละเกม (Score in a Game)
– ถ้าผู้เล่นคนใดได้แต้มแรก ให้ขานแต้มว่า 15 สำหรับผู้เล่นนั้น เมื่อเขาได้แต้มที่สองให้ขานแต้มว่า 30 สำหรับผู้เล่นนั้นเมื่อเขาได้แต้มที่สามให้ขานแต้มว่า 40 สำหรับผู้เล่นนั้น และถ้าเขาได้แต้มที่สี่ ก็ถือว่าผู้นั้นชนะในเกมนั้น ทั้งนี้เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้– ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้แต้มสามแต้มเท่ากันให้ขานแต้มว่าดิวซ์ (Deuce) ถ้าผู้เล่นฝ่ายใดได้แต้มต่อไปให้ขานแต้มว่าได้เปรียบ (Advantage) สำหรับผู้เล่นนั้นถ้าผู้เล่นคนเดียวกันนั้นได้แต้มต่อไปอีกหนึ่งแต้ม ผู้เล่นคนนั้นชนะในเกมนั้น แต่ถ้าผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งกลับเป็นผู้ได้แต้มต่อจากแต้มได้เปรียบให้ขานแต้ม เป็นดิวซ์อีก และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนกระทั่งผู้เล่นคนใดคนหนึ่งได้สองแต้มติดต่อกันหลัง จากดิวซ์แล้ว จึงถือว่าผู้เล่นคนนั้นเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
แนะนำการดูเทนนิส
1. การเล่นผู้เล่นจะต้องอยู่คนละข้างของตาข่าย ผู้เล่นที่ส่งลูกก่อนจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟ อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่ายรับ สลับกันไป
2. การเลือกข้าง
ใช้วิธีเสี่ยง ผู้ชนะมีสิทธิ์ในการเลือกข้าง หรือเสิร์ฟ
3. การเสิร์ฟ การยืน
จะต้องให้เท้าทั้งสองข้างอยู่นอกสนามเส้นหลัง ให้โยนลูกขึ้นไปในอากาศ แล้วใช้ไม้ตีก่อนที่ลูกจะตกถึงพื้น ผู้เล่นที่มีแขนเดียวให้ใช้ไม้เทนนิสช่วยโยนได้ ให้เริ่มเสิร์ฟด้วยด้านขวาก่อน แล้วจึงสลับกันไป ลูกที่เสิร์ฟจะต้องข้ามตาข่ายไปสัมผัสกับพื้นภายในคอร์ตเสิร์ฟที่อยู่ทแยง กันเมื่อเสิร์ฟลูกที่ 1 เสีย จะต้องรีบเสิร์ฟลูกที่ 2 ทันที การเล่นเมื่อจบเกมจะต้องเปลี่ยนการเสิร์ฟสลับกันไป
4. การรับ
ผู้รับพร้อมที่จะรับจึงเสิร์ฟได้ ถ้าหากว่าผู้รับพยายามที่จะรับลูกต้องถือว่าผู้รับนั้นพร้อมแล้ว
5. การขานคำว่า ” เล็ต ”
หมายความว่า เมื่อขานขึ้นเฉพาะการเสิร์ฟลูกที่ 1 ก็ให้เสิร์ฟลูกนั้นใหม่ เมื่อขานขึ้นกรณีอื่นๆ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่ การเสิร์ฟที่ขาน ” เล็ต ” ไม่มีฝ่ายใดได้แต้ม
6. การเปลี่ยนข้าง
จะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่ 1 และเกมที่ 3 และทุกเกมคี่ของแต่ละเซต นอกจากจำนวนเกมในเซตนั้นเป็นเลขคู่ก็จะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่ 1 ในเซตถัดไป
7. การเสิร์ฟได้แต้ม
คือ การเสิร์ฟถูกต้องหรือถูกตัวผู้รับก่อนที่ลูกจะตกถึงพื้น ผู้รับจะได้แต้มเมื่อผู้ เสิร์ฟเสีย 2 ลูกติดต่อกันหรือผู้เสิร์ฟทำเสียเอง
8. การขัดขวางคู่ต่อสู้
หากผู้เล่นคนใดขัดขวางคู่ต่อสู้ในการตีลูกโดยจงใจ จะเป็นฝ่ายเสียแต้ม
9. ลูกที่ตีไปสัมผัสพื้นสนามอย่างถูกต้องแล้วไปตกกับอุปกรณ์ถาวร
ผู้ตีจะได้แต้ม แต่ถ้าผู้ตี ตีลูกไปถูกอุปกรณ์แล้วสัมผัสพื้นสนามผู้รับจะได้แต้ม
10. การนับแต้มในแต่ละเกม
ผู้เล่นคนใดได้แต้มครั้งแรกให้ขานว่า “15 ” เมื่อเขาได้แต้มครั้งที่ 2 ให้ขานว่า ” 30 ” เมื่อเขาได้แต้มครั้งที่ 3 ให้ขานว่า ” 40 ” เท่ากันให้ขานว่า ” ดิวซ ์” ถ้าเขาได้แต้มอีกต่อไปเป็นครั้งที่ 2 เขาก็จะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น ถ้าคู่ต่อสู้ของเขาทำแต้มต่อจากแต้มได้เปรียบก็จะขานว่า ” ดิวซ ์” อีก ต่อจากนั้นถ้าใครทำแต้มต่อจาก ” ดิวซ ์ ” ติดต่อกัน 2 แต้มก็จะเป็นผู้ฝ่ายชนะ
11. การนับแต้มในแต่ละเซต
ผู้เล่นที่ชนะ 6 เกมแรก จะถือว่าเป็นผู้ชนะในเกมนั้น แต่จะต้องชนะคู่ต่อสู้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 เกมด้วยและถ้าจำเป็นก็จะต้องเล่นต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะชนะติดต่อกัน 2 เกม
12. การนับแต้มระบบไทเบรก
จะใช้ต่อเมื่อได้แต้มเป็น 6 เกม เท่ากัน ยกเว้นเซตที่ 3 และเซตที่ 5 ของการแข่งขันที่มี 3 หรือ 5 เซต แต้มก่อนจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น แต่จะต้องชนะคู่ต่อสู้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 แต้มด้วย ถ้าแต้มเป็น 6 เท่ากัน จะต้องต่อเกมออกไปจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะ 2 แต้มติดต่อกันตลอดไทเบรก จะเป็นฝ่ายชนะ
13. จำนวนเซตที่ใช้แข่งขัน
การแข่งขันประเภทคู่ อย่างมากมี 5 เซต ถ้ามีสตรีร่วมแข่งขันด้วยจะมี 3 เซต
14.เวลาสำหรับการแข่งขันและหยุดพัก
เวลาสำหรับการเปลี่ยนข้างไม่เกิน 1 นาที 30 วินาที แต่ต่อได้ไม่เกิน 25 วินาที เวลาพักหลังได้รับบาดเจ็บ ระหว่าง 3 – 5 นาที เวลาพัก เมื่อ หมดเซตที่ 3 หรือในการแข่งขันที่มีสตรีด้วยเมื่อหมดเซตที่ 2 พักได้ไม่เกิน 10 นาที
เกมไทร์เบรค คือ การเล่นเกมสุดท้ายอันเป็นเกมตัดสินนั่นเอง ในเกมนี้ผู้เล่นที่ทำคะแนนถึง 7 พ้อยท์ เป็นคนแรกจะชนะเกมเซ็ท ยกเว้นที่ในกรณีทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 6 พ้อยท์เท่าซึ่งเกมไทเบรคจะต้องดำเนินต่อไปจนกระทั่งผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง สามารถทำคะแนนนำอีกฝ่ายหนึ่งไปได้ 2 พ้อยท์รวมเช่น 9-7,16-14 ฯลฯ สำหรับในบางประเทศจะใช้เกมไทเบรคชนิด 5 พ้อยท์ เป็นเกณฑ์ตัดสิน อเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่กำหนดให้มีไทเบรคประเภทนี้ และได้ใช้ระบบนับแต้มที่เรียกว่า “No Ad Scoring” ซึ่งเป็นวิธีการนับเลขแบบก้าวหน้าเรียงขึ้นไปตามลำดับคือ 1,2,3,4 แทนที่จะเป็น 15,30,40 คนที่สามารถทำคะแนนได้ 4 แต้มคนแรกจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
เป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมาในการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์ที่ผู้เล่นทั้ง ในประเภทเดี่ยวและประเภทคู่จะเปลี่ยนข้างกันในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งจะทำกันหลังจากการแข่งขันในเกมที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และต่ไปเรื่อย ๆ เกมเว้นเกม การแข่งขันแต่ละเซ็ทจะแยกออกมาอย่างเด็ดขาด ดังนั้นถ้าหากว่าเซ็ทหนึ่งสิ้นสุดลงด้วยคะแนน 6-3 ก็จะมีการเปลี่ยนข้างกันในทันที แล้วจะมีการเปลี่ยนข้างกันอีกครั้งหนึ่งเมื่อเกมแรกของเซ็ท ต่อมาสิ้นสุดลง สำหรับในกรณีที่เป็นการแข่งขันไทเบรคผู้เล่นจะเปลี่ยนข้างกันในทุก ๆ 6 พ้อยท์ เมื่อครบไทเบรคหนึ่งครั้งก็เท่ากับจบกันไปหนึ่งเกม
มารยาทในการดูเทนนิส
1. ไม่ควรส่งเสียงดังในระหว่างการเล่น ช่วงเปลี่ยนข้างสามารถทำได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ในช่วงเปลี่ยนข้างนี้ นักกีฬาก็ยังใช้สมาธิเพื่อวางแผนการเล่น ดังนั้นจึงไม่ควรส่งเสียงเชียร์ดังจนเกินไป2. ไม่เชียร์โดยการโห่ฮา การกระทืบเท้าเป่าปากในระหว่างการเล่น ยิ่งนักกีฬาฝ่ายตรงข้ามตีเสียเอง เราไม่ควรตบมือส่งเสียงดีใจหรือซ้ำเติมนักกีฬา
3. ไม่ควรตะโกนสอนผู้เล่นในระหว่างแข่งขัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น